วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การทำมะม่วงนอกฤดู ตอน : การห่อผลอย่างมีประสิทธิภาพ

Text Box:  การทำมะม่วงนอกฤดู

ตอน : การห่อผลอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย ชฎิล นิ่มนวล.

chadyl@windowslive.com


นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ไล่เรื่อยมาจนถึงกลางเดือนมิถุนายนปีนี้ เป็นปีที่ชาวสวนมะม่วงได้รับผลกระทบมากที่สุดปีหนึ่ง เนื่องจากผลผลิตที่ออกมาจากทั่วสาธิตของเมืองไทยกระจุกตัวตลอด ทำให้ราคามะม่วงไม่เป็นอย่างที่คาดคิด ทั้ง ๆ ที่ปีนี้คุณภาพมะม่วงดูดีกว่าปีที่ผ่านมา(หรือจำนวนมะม่วงมีให้เลือกมาก) ประกอบกับเศรษฐกิจจากทั่วโลกส่งผลต่อการบริโภคภายใน และต่างประเทศ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกระทบ ทั้งตัวเกษตรกร และทั้งบริษัทผู้ส่งออก หลายบริษัทต้องรัดเข็มขัด หลายบริษัท ปฏิบัติตนผิดคุณธรรมอย่างน่ารังเกลียด เลิกจ้างพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม ข้อกล่าวหาก็เป็นไปแบบน้ำขุ่น ๆ วันนี้ผมขอใช้เนื้อที่ท่านผู้อ่านพูดถึง บริษัทที่เอาเปรียบพนักงาน อย่างน้อยสองบริษัทที่รู้จัก ทำอย่างเดียวกัน ทำอย่างน่าระอาย ขาดคุณธรรม อย่างนี้ต้องประจานให้สังคมได้รับรู้ ถึงการปฏิบัติอย่างขาดจิตสำนึกขององค์กรที่ไร้ธรรมาภิบาล รู้ไปถึงไหนอายไปถึงนั่น ผมขอเนื้อที่เพียงย่อหน้าเดียวเขียนถึงวิธีที่บริษัทดังกล่าวกระทำต่อพนักงาน!

ข้อกล่าวหาที่ง่ายที่สุดคือ กล่าวหาว่าพนักงานมีนอกมีนัยกับกลุ่ม ที่ขายมะม่วง ให้พักงาน พอเอากลุ่มมายืนยันเข้าจริง ๆ กลุ่มเกษตรกรไม่ยอมหาว่าดูถูกกลุ่ม เกษตรกรเหล่านั้นโทรมาต่อว่า บางรายจะฟ้องร้องเอาด้วยซ้ำ จนในที่สุดกลัวจะโดนฟ้อง เลยเปลี่ยนข้อกล่าวหา เป็นว่า ทำให้บริษัทเสียหาย เวลาออร์เดอร์มาไม่สามารถหามะม่วงให้ได้ เวลา ออร์เดอร์มีน้อยกลับสั่งมะม่วงมามาก ทำให้บริษัทเสียหาย เออ ข้อกล่าวหาแปลกดี ทำอย่างกับว่ามะม่วงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมจะผลิตเมื่อไร เท่าไร ขนาดไหนก็ทำได้ ไม่ย้อนกลับไปดูตัวเองว่าทำไมถึงขายไม่ได้ วางแผนอย่างไร เข้าใจเนื้อแท้สินค้าเกษตร มากน้อยแค่ไหน เคยรู้หรือไม่ว่าปัญหาของมะม่วงคืออะไร บางครั้งได้ยินพูดก็เหนื่อยแทน เช่น ถามเกษตรกร ว่าทำไมไม่ผลิตลูกใหญ่ ๆ พอผลิตลูกใหญ่ก็ไม่ซื้อ ก็กลับถามอีกว่าทำไมไม่ผลิตลูกกลาง ๆ เหล่านี้เป็นคำถาม ของคนที่ไม่รู้จริง และสิ่งเหล่านี้ ต้องเข้าใจการตลาด และต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ มิใช่มัวโทษชาวบ้าน แต่ไม่เคยมองตัวเองเลยว่า ตัวเองไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ ความเข้าใจ เป็นนักธุรกิจ เปิดบริษัท ขายสินค้า แต่ตัวเองไม่รู้จักสินค้าของตัวเอง จะอยู่รอดหรือ? ?? เห็นแล้วก็ให้ปลงอนิจัง ภายนอกแสดงตัวต่อสังคมเป็นคนใจบุญสุนทาน อย่างนี้โบราณเรียกมือถือสากปากถือศีล จะดูต่อไปว่า บริษัทแบบนี้จะอยู่ไปได้สักกี่น้ำ คนเก่ง ๆ ดี ๆ ถูกกล่าวหา คนใกล้ชิดยุแยงตะแคงรั่ว หูเบาเชื่อคนรอบข้างไม่สืบสวนให้ชัดเจน อย่างนี้ผมเห็นมานักต่อนักแล้ว ก็ขอให้บุญกรรมที่ทำไว้ตอบแทนเอาตามกรรมของแต่ละคนที่ทำกันไว้ เถิดครับ...

เอาละครับ พอหอมปากหอมคอ เดี๋ยวนี้ สังคมมองหาองค์กรที่มีธรรมาภิบาลยากครับ ผมเองพยายามพูดเรื่องนี้บ่อยครั้ง จนหลายท่านอาจจะมองว่าเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้ครับ เป็นต้นตอ หรือรากเง้าของความยั่งยืนของการดำรงชีวิต การทำธุรกิจ ครับ เอาละครับ ขอโทษท่านผู้อ่านที่ใช้เนื้อที่มากไปหน่อย

ในช่วงเวลาต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการทำมะม่วงนอกฤดู ซึ่งเกษตรมืออาชีพที่คร่ำหวอดในวงการมะม่วงเลือกช่วงเวลานับตั้งแต่เดือนกรฏาคม จนถึงเดือนธันวามคม เป็นช่วงผลิต ส่วนจะออกเดือนไหนก็ขายได้ทั้งนั้น ความต้องการสูง ราคาสูง แต่ผลิตยาก เกษตรกรหลายท่านที่ปากช่อง สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบ เตรียมตัดแต่งกิ่ง มาตั้งแต่เดือนที่ผ่าน ๆ มา หวังว่าอีก สี่ ห้าเดือนข้างหน้าขายได้ราคางาม อย่างไรก็คงไม่ต่ำกว่า 70-80 บาท/กก. อย่างแน่นอน การทำมะม่วงนอกฤดู แม้ว่าจะได้ราคางาม แต่อุปสรรค์ที่สำคัญ คือการผลิตมะม่วงนอกฤดูนั้นต้องผ่าฝนอย่างแน่นอน หากปีนี้ฝนตกชุกหนาแน่น หรือตกแช่นาน ก็คงเหมือน ๆ ปีที่ผ่านมา เมื่อเวลาช่วงดึงดอกฝนตก จะเสียหาย เพราะฉะนั้น เกษตรกรสามารถคำนวนได้เลย ว่า อีกสี่เดือนข้างหน้ามะม่วงจะหายาก ราคาจะสูง หากใครมีเทคนิคผ่าฝนได้สำเร็จก็รอรับเงินได้เลยครับ!

ที่พูด ๆ ดูเหมือนง่าย แต่เวลาทำจริง ๆ ยากเย็นแสนเข็น ต้องละเอียดพิถีพิถัน ลงทุนมาก ฝนตกแต่ละครั้ง นั่นก็หมายความต้องฉีดพ่นยา สารเคมีช่วย ถ้าใช้ของดี ราคาก็แพง ถ้าใช้อย่างฉลาด รู้จริง สามารถประหยัดต้นทุน เช่น มะม่วงเป็นโรคอะไร ควรใช้ยา หรือสารเคมีชนิดไหน? ใช้ปริมาณเท่าไร?ใช้อย่างไร? เครื่องมืออุปกรณ์ คุณภาพอยู่ในสภาพพร้อมใช้หรือไม่ อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น การเป็นคนช่างสังเกตุ การเรียนรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ การ เปิดใจ รับฟังอย่างไตร่ตรง อย่าเป็นชาล้นถ้วย ทุกอย่างคิดว่ารู้แล้ว หรือรู้แล้วไม่ปฏิบัติ เหล่านี้เป็นอุปสรรค์เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เมื่อรวมตัวกันกลับกลายเป็นอุปสรรค์ใหญ๋ที่แก้ไขยาก โดยเฉพาะทัศนคติที่ฝังรากลึก ยิ่งแก้ยาก พอผลิตออกมาแล้วคุณภาพไม่ดี จะให้ผู้รับซื้อลดหย่อนคุณภาพ ลดเกรด เพื่อขายราคาเดียวกัน ยัดใส้ อะไรทำนองนี้ อย่าลืมนะครับว่าผู้ส่งออกไม่ใช่ผู้จ่ายเงินซื้อคนสุดท้าย ผู้บริโภค เป็นคนตัดสินใจจะซื้อ บนเงื่อนไขง่าย ๆ 4 ประการ คือรสชาติต้องดี รูปลักษณ์ต้องสวยงาม ต้องมีความปลอดภัย ราคาเป็นธรรม เห็นหรือยังครับ นี่เป็นเงื่อนไขง่าย ๆ แม้แต่ตัวเราเองก็ยังใช้เงื่อนไขนี้ซื้อสินค้าเหมือนกัน ดังนั้นที่ใครต่อใครชอบพูดว่าทำไมไม่สอนให้ผู้บริโภค รับประทานของไม่สวย ย้อนถามตัวเราเอง ของไม่สวยเราจะซื้อหรือไม่ หรือถ้ามีของสวยกับไม่สวย วางคู่กัน รสชาติเหมือนกัน ปลอดภัยเหมือนกัน ราคา เท่า ๆ กัน ถามว่าจะเลือกซื้อตรายี่ห้อไหน ผมกำลังหมายถึง ว่า มะม่วงไม่ได้มีจากประเทศไทยแหล่งเดียว(ในประเทศมีจากทุกจังหวัด) ไม่ใช่มีจากประเทศไทยประเทศเดียว บนตลาดสากล มีวางขายจากทุกมุมโลก อย่างตลาดรัสเซีย เป็นตลาดเปิดเสรี ผักผลไม้จากทั่วโลก ลองหลับตานึกเอาเถิดครับ จะทำอย่างไรให้ขายได้ ขายดี ขายได้ราคา ขายได้อย่างต่อเนื่อง ง่ายหรือยากครับ!!! อย่างเช่นการทำมะม่วงนอกฤดู ใช้ใช้ถุงห่อมะม่วง ผมว่ามีความสำคัญ มากเหมือนกันลองอ่านดูครับ

การใช้ถุงห่อมะม่วง ผมมองว่าเป็นเทคนิคการผลิตมะม่วงขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งด้านราคา คุณภาพ ผิวพรรณความสวยงาม อีกทั้งยังป้องกันศัตรูพืชและเชื้อโรคต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี ค่าแรงงาน รวมถึงความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและผู้ใช้สารเคมีอีกทางหนึ่งด้วย ที่จริงการห่อมะม่วงมีมานานมากกว่าสามสิบปีแล้ว แต่สมัยก่อนนั้นใช้กระดาษหนังสือพิมพ์บ้าง กระดาษสีน้ำตาล (ถุงปูนซีเมนต์) บ้าง เพื่อป้องกันการขีดข่วนของกิ่ง ป้องกันโรค แมลงต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์ปลีก เช่นนก ค้างคาว เป็นต้น

การห่อผลอย่างประณีต ทำให้รักษาผิว การติดแทบสีเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละรุ่น

ผิวมะม่วงมีความบอบบาง เมื่อเกิดกระทบกระเทือน หรือเกิดการเสียดสีจากกิ่ง ใบ ก้าน ผลเสียดสี เกิดการเคลื่อนไหวเนื่องมาจากแรงลม ทำให้ทิ้งร่องรอย ขยายใหญ่ขึ้นเมื่อผลโต หรือเมื่อเกิดการกระทบรุนแรงอาจมียางไหลเปื้อนผิวมะม่วง ทำให้เกิดแผล ผลเน่า เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ผลมะม่วงได้ง่าย บางช่วงมีน้ำค้างแรง ฝนตกติดต่อหลาย ๆ วัน ทำให้เกิดความชื้น เชื้อราเติบโตได้ดี หรือเกิดจากแมลงที่ถ่ายมูลลงมา หมักหมมทำให้เกิดเชื้อรา เหตุผลเหล่านี้ ทำให้ผิวของมะม่วงมีรอยด่างดำไม่สวยงาม แมลงวันทอง นับเป็นภัยสำคัญที่ส่งผลต่อชาวสวนมะม่วง และเป็นเงื่อนไขสำคัญในการส่งออกไปต่างประเทศ แมลงวันทอง และแมลงชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์ปีก เป็นเรื่องยุ่งยากในการใช้สารเคมีกำจัด หากใช้ถุงห่อจะช่วยลดความเสียหายจากการเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในเขตพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่ใช้สารเคมี หรือมลพิษจากสารเคมี การใช้ถุงยังช่วยป้องกันสภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีปัญหาไม่ได้ใช้สารเคมีที่ทางราชการห้ามใช้ แต่เมื่อเก็บเกี่ยว และนำไปตรวจสอบกลับพบว่ามีสารพิษตกค้างปะปนอยู่บ่อยครั้งโดยหาสาเหตุไม่พบ

การห่อยังมีปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การห่อได้ผลสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเตรียมพื้นที่ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช การดูแลความสะอาดทั้งพื้นดิน บริเวณรอบโคนต้น ลำต้น กิ่ง ใบ ช่อ จำเป็นต้องรักษาให้สะอาด พื้นดินควรปราศจากแหล่งสะสมที่มาของเชื้อโรค วันก่อนผมได้นั่งคุยกับ คุณมนตรี ศรีนิล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโป่งตารอง เรื่องเชื้อราแอนแทรกโนส ที่เกิดบนผิวมะม่วง และเชื้อที่แฝงภายใน คุณมนตรีให้ความสำคัญกับการเตรียมพื้นที่มาก เกษตรกรจำเป็นต้องดูแล สังเกตุ และเอาใจใส่ อย่างพิถีพิถัน ปราณีตบรรจง การใช้สารเคมี ต้องใช้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะขอกล่าวในหัวข้อต่อไป การใส่ปุ๋ยตามสภาพดิน ต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งทางพื้นดิน ทางใบ การตรวจสอบธาตุในดินทั้งธาตุหลักและธาตุรอง มีความสำคัญ ถ้าต้นไม้แข็งแรง ภูมิต้านทานจะดี ไม่ต่างจากคน ใบก็เช่นกัน

เป็นประตูด่านแรกที่สามารถบอกเราได้ว่ามะม่วงเกิดปัญหาอะไร การเป็นคนช่างสังเกตุ พบเห็นอะไร หรือสงสัยอะไร ปรึกษาหารือผู้รู้ เปิดใจรับฟังแล้วนำมาทดลอง เมื่อได้แนวทางแล้วอย่าสับสน เชื่อคนโน้น เชื่อคนนี้ นั่นแหล่ะการผลิตจะไม่ได้ผล เมื่อเราทดลองแล้ว พบว่าแนวทางนี้ถูกต้องให้เฝ้าสังเกตุต่อ ติดตามอย่างต่อเนื่อง แล้วจะพบแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ที่สำคัญทุกคนต้องมีวินัยในการทำงาน อย่าคิดว่าทำเล่น ๆ ต้องเอาจริงเอาจัง อย่าคิดว่ารู้แล้ว เป็นแล้ว ดีแล้ว มีปัญหาทุกราย ที่สำคัญพอมีปัญหา โยนความผิดไปให้ผู้อื่น ตัวเองถูกอยู่คนเดียวอันนี้ไม่ถูกครับ พื้นดินควรมีการพรวนดินพอประมาณแล้วใส่ปุ๋ยทุก ๆ ปี การขาดธาตุแคลเซี่ยมเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของแปลงปลูกมะม่วง และส่งผลต่อการห่อผลมะม่วงด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้ผลล่วง หรือถ้าไม่ล่วงรสชาติจะเปลี่ยนไป ช่วงที่ฝนตกมาก ควรมีการให้ธาตุนี้ช่วยเพื่อเสริมรสชาติให้คงที่ หมั่นสังเกตุช่อดอกมะม่วง หากเกิดอาการเหี่ยวเฉาจำเป็นต้องพ่นสารช่วยทางใบ 3-4 ครั้งติดต่อกันเป็นต้น

ผลมะม่วงที่เมื่อแกะถุงจะมีสภาพสวยงาม บริเวณแปลงปลูกที่ได้รับการดูแลความสะอาด

มะม่วงในเขตร้อนชื้นอย่างเช่นประเทศไทย มีอัตราการติดผลค่อนข้างยาก ผลมักร่วงเร็ว การห่อผลมะม่วงไม่ควรห่อก่อน 35-45 วันหลังการติดดอก (ผลประมาณไข่ไก่) เพราะถ้าผลเล็กยังไม่สลัด จะทำให้ผลล่วง สิ้นเปลืองถุง แรงงาน เวลา ค่าใช้จ่าย ถ้าห่อเมื่อผลใหญ่ (ควรห่อให้อยู่ในถุงอย่างน้อย 45 วันขึ้นไป) จะทำให้สีผิว ไม่ขาว นาวล สดใส และอาจจะไม่ช่วยป้องกันสารพิษตกค้าง ตลอดจนการป้องกันแมลง เชื้อรา เช่น แอนแทรคโนส โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ ถ้าห่อผลใหญ่จะทำให้เมื่อสุกสีไม่เหลืองสดสวยเหมือนน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พอที่จะอนุโลมได้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้าง ร่องรอยการเสียดสีที่อาจจะเกิดขึ้นจากก้าน ใบ หรือกิ่งที่เสียดสี เมื่อลมพัดกรรโชก หรือโรคเกิดการสะสมจากเชื้อที่ผสมกับน้ำค้างที่เกิดบริเวณขั้ว รวมทั้งแมลงวันทอง ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ไม่สามารถส่งออกได้

การคัดเลือกผลที่สมบูรณ์ที่จะห่อ ต้องมีทั้งรูปทรงที่ตรงตามสายพันธุ์ ไม่มีลักษณะที่ผิดปกติ (กระเทย) ไม่มีร่องรอย เป็นโรค หรือมีจุดด่าง ดำ เชื้อรา เมื่อพบควรตัดผลที่ไม่สมบูรณ์ออก (รวบรวมไปทำลาย อย่าทิ่งไว้ในบริเวณพื้นที่เด็ดขาด) เพราะถ้าห่อ เมื่อผลโต ร่องรอยเหล่านั้นจะขยายใหญ่จนทำให้ผิวไม่สวยตกเป็น เกรด บี ซี หรือบางครั้งตกเกรดขายไม่ได้ราคา ส่วนในช่อเดียวกัน ควรเก็บไว้ไม่เกินสองผล เพราะมากเกินไปจะทำให้ผลเล็กเกินขนาด หรืออาจจะล่วงได้เมื่อห่อไปได้ระยะหนึ่ง ไม่ควรห่อผลหลายผลในถุงใบเดียวกัน ควรแยกใช้ถุงละผล เพราะถุงที่ทำมานั้นสำหรับใช้เพียงผลเดียว หากมีผลคู่ควรพิจาณาให้ดี (พลิกดูด้านที่ผิวสัมผัส) ทางที่ดีควรเหลือไว้เพียงผลเดียวปลอดภัยที่สุด ก่อนห่อต้องดูแลความสะอาดว่ามีเชื้อโรคหมักหมมบริเวณขั้ว และผิว อาจจะต้องใช้น้ำสะอาดล้าง ใช้แปลง หรือภู่กันเล็ก ๆ ปัดให้สะอาด ก่อนจุ่มสารเคมี หรือฉีดพ่นหลายคนอาจจะฟังดูแล้วขัดหูขัดตา แต่เชื่อผมเถอะ หากหวังผลร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ละเอียดพิถีพิถัน ปราณีตในการคัดเลือก สังเกตุ ทำความสะอาด จะทำให้การห่อเสียค่าใช้จ่าย ค่าถุง ค่าแรง ค่าเก็บเกี่ยวจิปาถะครับ

การห่อผลมะม่วงด้วยถุงกระดาษ แม้ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมี ลดอันตรายจากสารเคมีต่อผู้ใช้ แต่ถ้าเกษตรกรนำเอาถุงกระดาษที่มีคุณภาพไม่ดีมาห่อ ยิ่งจะเพิ่มต้นทุนและยังส่งผลต่อผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถป้องกันสารเคมี ศัตรูพืชและเชื้อโรค ยังจะทำให้เกษตรกรสูญเสียเงินจำนวนมาก และสูญเสียโอกาสในการผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดอีกด้วย วันก่อนได้พบกับเกษตรกรรายหนึ่งบอกว่าตนเองต้องห่อหมดทุกผลเพราะขณะนี้โรงงานที่รับซื้อไปแช่แข็งก็ต้องการผลห่อ ว่าคิดให้ดี เพราะเมื่อเฉลี่ยแล้วทำให้มะม่วงเกรด เอ บี มีต้นทุนสูง ดูแล้วไม่คุ้มทุน แท้ที่จริงควรแยกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการห่อ

เนื่องจากปัจจุบันมีหลายบริษัทที่นำถุงเข้ามาขาย มีตั้งแต่ราคาถูก(0.60-1.50 บาท/ใบ) จนถึงราคาแพงให้เลือก ซื้อหากันตามความสัมพันธ์ของคนขาย สิ่งที่ผมจะพูดให้ฟังคือ ถุงทุกชนิดที่ใช้ต้องนำมาใช้ให้ตรงความวัตถุประสงค์ และคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ผมขอแยกเป็น สองส่วนคือส่วนที่ใช้กับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และส่วนที่ใช้กับมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ ส่วนมะม่วงอื่น ๆ รวมทั้งตกเกรดยังไม่ขอพูดในคราวนี้

สำหรับถุงที่ใช้กับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง นั้นควรเป็นถุงสองชั้นที่เคลือบสีดำทั้งสองชั้นโดยที่ขนาดของความหนาไม่จำเป็นต้องหนามากนัก เพราะจะทำให้ราคาแพง แต่ที่สำคัญควรมีการเคลือบไขชนิดบาง เพื่อป้องกันเวลาน้ำ ค้างตอนเช้าที่เกิดขึ้นในหน้าหนาว ยิ่งบริเวณไหนมีน้ำค้างแรง หรือมีฝนตกบ่อย โดยเฉพาะการผลิตมะม่วงนอกฤดู ต้องห่อผลมะม่วง ในฤดูฝน ควรเลือกที่มีการเคลือบไขหนา ไม่ซึมหรืออุ้มน้ำในเนื้อกระดาษ รูที่เจาะต้อง ไม่ติดสนิท บางยี่ห้อ กาวติดปิดรูระบายน้ำ ทำให้น้ำขังผมไปพบเจอมาแล้วครับ ถ้าเลือกถุงที่ไม่เคลือบ ราคาถูกอาจจะเกิดปัญหาซึมน้ำ และเมื่อฝนตกติดต่อกัน จะทำให้เกิดเชื้อรา ทำให้เป็นรอยด่างบนผิวเกิดความเสียหายได้ หรือบางครั้งฉีดสารเคมี ทำให้เกิดรอยไหม้ รอยด่างที่ซึม หรือแรงดันจากหัวฉีด ผ่านเข้าถึงผิวมะม่วงได้ ปีที่ผ่านมาฝนตกมาก เกษตรกรที่ใช้ถุงบางไม่เคลือบหรือใช้ถุงซ้ำสอง เจอปัญหานี้ทั้งสิ้น การนำถุงมาใช้ ซ้ำสอง ซ้ำสาม ผมไม่สนับสนุนครับ อย่าประหยัดในสิ่งไม่ควรประหยัด ได้ไม่คุ้มเสีย ไปดูมาหลายต่อหลายแห่งแล้วปัญหาเป็นเหมือนกัน ที่สำคัญปีนี้ พบการทำรายของสารเคมีที่ผ่านเข้าถุงที่ใช้ซ้ำ อย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องหมั่นสังเกตุฤดู หรือสังเกตุดูพื้นที่ที่ผลิตด้วยว่า น้ำค้างแรง หรือฝนตกชุกหรือไม่ เรียกว่าต้องติดตามจากกรมอุตนิยมวิทยา คิดวิเคราะห์ด้วยว่ามรสุม เกิดจากด้านไหนส่งผลต่อการผลิตในแปลงของตนอย่างไร อย่านำเอวิธีของพื้นที่หนึ่งมาใช้กับอีกพื้นที่หนึ่ง คนละสถาณการ์ คนละพื้นที่ไม่เหมือนกันครับ

ถุงเก่า ที่ทำให้สารเคมีเข้าทำลายผิวมะม่วงด้านในห่อ

วิธีทดสอบถุงว่ามีคุณภาพหรือไม่ ให้ทดลองฉีกถุงกระดาษตามขวางถ้าเป็นขุยแสดงว่าเป็นกระดาษที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์จากพืช ถ้าฉีกแล้วไม่มีขุยแสดงว่าใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชเป็นส่วนผสมน้อย ไม่ทนต่อสภาพการใช้งาน ทดลองให้น้ำไหลผ่านถุงทั้งด้านนอก (สีเหลือง) และด้านใน (สีดำ) ถ้าเกาะเป็นหยดน้ำ แสดงว่าเป็นถุงที่มีคุณภาพดีเนื้อแน่น และต้องเคลือบไข (ด้านสีเหลือ) แต่ถ้าซึมและเปียกเป็นถุงที่มีคุณภาพต่ำ เมื่อฝนตกหรือโดนน้ำค้าง จะทำให้ซึมเข้าถึงผลมะม่วงได้ หรือทดลองเผาถุง ถ้าขี้เถ้ายังคงสภาพเป็นรูปเดิม ไม่แตกกระจายเป็นเศษเล็กๆ แสดงว่าเป็นกระดาษคุณภาพดี จะทดลองแช่น้ำแล้วใช้มือขยี้ถุงกระดาษถ้าไม่เป็นขุย แสดงว่าเป็นกระดาษคุณภาพดี ทนแดดและฝน หรือจะทดลองเอาถุงกระดาษครอบแก้วน้ำร้อนเอายางยืดรัด สังเกตุดูว่ามีไอความร้อนลอยขึ้นเหนือกระดาษหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าสามารถระบายอากาศได้ดี เป็นต้น

ในการห่อผลมะม่วง หลายท่านยังมองว่าการห่อด้วยถุงเป็นเรื่องง่าย ไม่ให้ความสำคัญ บางคนจ้างแรงงานต่างด้าว เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง บางรายจ้างเหมาเป็นร้อย ยิ่งไปกันใหญ่ ต้องให้ความสำคัญ เพราะเมื่อเราห่อไปแล้ว เราไม่ได้เปิดออกดู เป็นระยะเวลานานกว่าสี่สิบสิบห้าวันขึ้นไป หากการห่อไม่ละเอียดพิถีพิถัน ไม่ตรวจสอบ ใช้ถุงที่ขาดคุณภาพ ใช้สารเคมีที่มีคุณภาพต่ำ หรือผสมไม่ตรงกับฉลากที่แนะนำ จะด้วยประหยัด หรือหวังผลมากเกินไปก็แล้วแต่จะคิดกันไป ที่สำคัญต้องให้ความสนใจ ดูว่าสามารถป้องกันเชื้อราได้ในรอบระยะเวลาที่อยู่ในถุงให้พอดี ก่อนห่อควรทำเครื่องหมายที่ถุงเพื่อเป็นที่สังเกตุว่า เป็นรุ่นไหน สังเกต หากมีน้ำค้างมากในตอนเช้า ให้ใช้สำลีชุบยาฆ่าเซื้อรา พันที่ขั้ว แล้วห่อโดยใช้รวดที่ติดมากับถุง พันให้รอบและพับลงให้ลวดลัดลงปิดร่องรอยของน้ำที่จะไหลย้อยลงสู่ถุง ข้อสำคัญอย่างบีบแรง เพราะลวดจะทำให้ไปกดจนขั้วไม่สามารถลำเรียงน้ำและอาหารสู่ผล จะล่วงในที่สุด

การให้น้ำ ก่อนจะห่อมะม่วงควรให้น้ำให้ชุ่มฉ่ำ 1 ครั้ง รอจนกว่าพื้นดินแห้งแล้วจึงเริ่มห่อ สวนมะม่วงที่มีสปิงเกอร์ หรือระบบหยดน้ำ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี การให้น้ำอย่างทั่วถึงเป็นการรักษาต้นให้อยู่ในสภาพดี มีผลโดยตรงกับต้น และผลมะม่วงในระยะยาวทำให้ต้นมะม่วงไม่โทรมเร็ว การใช้สารเคมี ควรให้ความสำคัญกับการกำจัดศัตรูพืชและเชื้อโรคก่อนที่จะทำการห่อ ไม่ว่าจะเป็นศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ฯลฯ รวมถึง เชื้อรา (แอนแทรคโนส) โดยต้องพ่นหรือจุ่มสารเคมีให้ตรงกับชนิดของศัตรูพืชและเชื้อราที่ต้องการป้องกัน บางท่านอาจจะใช้วิธีพ่น ต้องระวังพ่นให้ทั่วถึง บางท่านมีพื้นที่มากอาจจะใช้รถฉีดพ่น ยิ่งต้องระวังให้มาก สาเหตุรอยไหม้บริเวณก้นของผลมะม่วง จะเกิดจากการใช้สารเคมีราคาถูก หรือกรณีที่ใช้สารเคมีมีคุณภาพแต่ส่วนผสมไม่เป็นไปตามที่ฉลากระบุ (ใช้ส่วนผสมมากเกินไปเพื่อหวังผลมากเกินไป) หลังจากจุ่มหรือพ่น ควรรอจนผลมะม่วงแห้งแล้วจึงห่อ ถ้าจะให้ผลสมบูรณ์ไม่ควรห่อผลช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เพราะอาจทำให้ผลร่วงได้ง่าย

ช่วงเดือน ต้นเดือนกรกฎาคม ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียนสวนวังน้ำทิพย์ ได้พูดคุยกับคุณ ณัฐวรรณ ด่านชัยวิจิตร ที่ตั้งอยู่ทที่แม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้สำรวจสวนที่มีมะม่วง มากกว่า 10,000 ต้น เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองประมาณ 35% เบอร์สี่ 65 % ในแต่ละปีเก็บผลผลิตได้ มากกว่า 100 ตัน ที่น่าสนใจคือปริมาณเกรดเอ มากกว่า 60% ส่วนเกรด บี 20% ที่เหลือเป็นเกรด ซี ซึ่งคุณภาพสวยงาม และขายได้ราคาสูงกว่าทุกสวน ผมได้พูดคุยกันอยู่นาน ก็พบว่า คุณณัฐวรรณ ด่านชัยวิจิตร ให้ความสำคัญกับการห่อผลมาก ละเอียดพิถีพิถัน ทุกห่อ ทุกผล กำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจน ผลที่ไม่ดีตัดทิ้งหมด ทั้งที่คนงานที่เห็นก็ไม่ใช่คนเก่งอะไรนัก เป็นชาวเขา ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แต่อยู่ในกฏระเบียบวินัย มีคนงานทั้งสิน 70 กว่าคน คุณอดิทัต เจนจรัสเมทา บุตรเขย เป็นผู้ดูแล คุณ ณัฐวรรณ เล่าให้ฟังว่า

ดิฉันให้ความสำคัญกับการห่อผลมาก บริเวณขั้วจะให้พับให้ชิดกับขั้ว แล้วใช้ลวดที่ฝังมาด้วยรัดเบา ๆ แล้วหักมุมลงมาให้สนิทกับขั้ว ด้านปลายที่พับใช้เม็กเย็บเพื่อกันลมกระพือ ถุงทุกใบต้องสำรวจก่อนว่ารูที่เจาะมา กาวไปติดจนปิดรูระบายน้ำหรือไม่ ส่วน คนงานเรามีการอบรมก่อนห่อจริง ซึ่งปกติทั่วไปจะห่อได้วันละเป็นพันถุงต่อคนต่อวัน แต่ที่นี่เน้นให้พนักงานห่ออย่างประณีต ดังนั้นแต่ละคนจะห่อผลได้เพียงประมาณ 100 กว่าห่อเท่านั้น หญิงวัยกลางคนที่มีบุคคลิกน่าเกรงขาม กล่าวอย่างภาคภูมิใจในผลงานที่วางอวดโฉมต่อหน้าผม

เราเดินดูสวน และเก็บรายละเอียดที่สวนแห่งนี้สร้างเป็นตำนานของการผลิตมะม่วงมืออาชีพส่งญี่ปุ่นซึ่งเป็นระดับเวิอร์ดคราส ที่น่ายกย่องและยึดเป็นแบบอย่างครับ

คุณณัฐวรรณ ด่านชัยวิจิตร แห่งสวน วังน้ำทิพย์ สวนวังน้ำทิพย์

นี่แหละครับ ความยากของการทำมะม่วงเพื่อการส่งออก หากเกษตรกรคนไหน ไม่ขยัน ไม่อดทน ไม่ช่างสังเกตุ ไม่พิถีพิถัน ไม่ประณีตบรรจง เป็นคนไม่ละเอียด คิดแต่จะเป็นผู้จัดการ แต่ไม่เคยอยู่จัดการ จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำการเกษตร เพราะเท่าที่ผมเห็นเกษตรกรที่ทำงานแบบประณีต บรรจง แม้ว่าจะทำไม่มาก ผลผลิตมีคุณภาพ ขายได้ราคาสูง ไม่ต้องทำมาก ทำเอง เพราะการทำการเกษตร ยิ่งจ้างมาก ยิ่งควบคุมยาก ขาดทุนมาก ที่สำคัญ เกษตรกรเหล่านั้น แม้จะทำแค่ห้าไร่ สิบไร่ หากแต่เกษตรเหล่านั้น มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ มีเมตตา ให้อภัยด้วยแล้ว ผมมักเรียกเกษตรกรเหล่านั้น ว่าเกษตรกรมืออาชีพครับ !!!

ไม่มีความคิดเห็น: